ประวัติความเป็นมาของบุญบั้งไฟ
ประเพณีบุญบั้งไฟ
เป็นประเพณีหนึ่งของภาคอีสานของไทยรวมไปถึงลาว
โดยมีตำนานมาจากนิทานพื้นบ้านของภาคอีสานเรื่องพระยาคันคาก เรื่องผาแดงนางไอ่
ซึ่งในนิทางพื้นบ้านดังกล่าวได้กล่าวถึง
การที่ชาวบ้านได้จัดงานบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อเป็นการบูชา พระยาแถน
หรือเทพวัสสกาลเทพบุตร ซึ่ง ชาวบ้านมีความเชื่อว่า
พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล และมีความชื่นชอบไฟเป็นอย่างมาก
หากหมู่บ้านใดไม่จัดทำการจัดงานบุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล
อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติกับหมู่บ้านได้
ช่วงเวลาของประเพณีบุญบั้งไฟคือเดือนหกหรือพฤษภาคมของทุกปี
ประเพณีบุญบั้งไฟมีมาแต่ครั้งไหนยังหาหลักฐานที่แน่ชัด
มีข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับความเป็นมาของประเพณีบุญบั้งไฟในแง่ต่างๆ ไว้ดังนี้
ความเชื่อของชาวบ้านกับประเพณีบุญบั้งไฟ
ชาวบ้านเชื่อว่ามีโลกมนุษย์
โลกเทวดา และโลกเทวดา มนุษย์อยู่ใต้อิทธิพลของเทวดา
การรำผีฟ้าเป็นตัวอย่างที่แสดงออกทางด้านการนับถือเทวดา และเรียกเทวดาว่า “แถน” เมื่อถือว่ามีแถนก็ถือว่า
ฝน ฟ้า ลม เป็นอิทธิพลของแถน หากทำให้แถนโปรดปราน มนุษย์ก็จะมีความสุข ดังนั้นจึงมีพิธีบูชาแถน
การจุดบั้งไฟก็อาจเป็นอีกวิธีหนึ่งที่แสดงความเคารพหรือส่งสัญญาณความภักดีไปยังแถน
ชาวอีสานจำนวนมากเชื่อว่าการจุดบั้งไฟเป็นการขอฝนจากพญาแถน
และมีนิทานปรัมปราเช่นนี้อยู่ทั่วไป แต่ความเชื่อนี้ยังไม่พบหลักฐานที่แน่นอน
นอกจากนี้ในวรรณกรรมอีสานยังมีความเชื่ออย่างหนึ่งคือ เรื่องพญาคันคาก หรือคางคก
พญาคันคากได้รบกับพญาแถนจนชนะแล้วให้พญาแถนบันดาลฝนลงมาตกยังโลกมนุษย์
ความหมายของบั้งไฟ
คำว่า “บั้งไฟ” ในภาษาถิ่นอีสานมักจะสับสนกับคำว่า
“บ้องไฟ” แต่ที่ถูกนั้นควรเรียกว่า”บั้งไฟ”ดังที่
เจริญชัย ดงไพโรจน์ ได้อธิบายความแตกต่างของคำทั้งสองไว้ว่า บั้งหมายถึง
สิ่งที่เป็นกระบอก เช่น บั้งทิง สำหรับใส่น้ำดื่ม หรือบั้งข้าวหลาม เป็นต้น
ส่วนประกอบของบั้งไฟ
1. เลาบั้งไฟ
เลาบั้งไฟคือส่วนประกิบที่ทำหน้าที่บรรจุดินปืน มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกกลมยาว
มีความยาวประมาณ 1.5 - 7 เมตร ทำด้วยลำไม้ไผ่เล้วใช้ร้วไม้ไผ่ (ตอก)
ปิดเป็นเกลียวเชือกพันรอบเลาบั้งไฟอีกครั้งหนึ่งให้แน่น
และใช้ดินปืนที่ชาวบ้านเรียกว่า"หมือ" อัดให้แน่นลงไปในเลาบั้งไฟ
ด้วยวิธีใช้สากตำแล้วเจาะรูสายชนวน เสร็จแล้วนำเลาบั้งไฟ
ไปมัดเข้ากับส่วนหางบั้งไฟ ในสมัดต่อมานิยมนำวัสดุอื่นมาใช้เป็นเลาบั้งไฟแทนไม้ไผ่
ได้แก่ ท่อเหล็ก ท่อพลาสติก เป็นต้น
เรียกว่าเลาเหล็กซึ่งสามารถอัดดินปืนได้แน่นและมีประสิทธิภาพในการยิงได้สูงกว่า
2. หางบั้งไฟ
หางบั้งไฟถือเป็นส่วนสำคัญทำหน้าที่คล้ายหางเสือ
ของเรือคือสร้างความสมดุลย์ให้กับบั้งไฟคอยบังคับทิศทางบั้งไฟให้ยิงขึ้นไปในทิศทางตรงและสูง
บั้งไฟแบบเดิมนั้น ทำจากไม้ไผ่ทั้งลำ
ต่อมาพัฒนาเป็นหางท่อนเหล็กและหางท่อนไม้ไผ่ติดกันหางท่อนเหล็กมีลักษณะเป็นท่อนกลม
ทรงกระบอกมีความยาวประมาณ 8-12 เมตร
ทำหน้าท่เป็นคานงัดยกลำตัวบั้งไฟชูโด่งชี้เอียงไปข้างหน้าทำมุมประมาณ 30-40
องศากับพื้นดิน โดยบั้งไฟจะยื่นไปข้างหน้ายาวประมาณ 7-8 เมตร
ปลายหางด้านหนึ่งตั้งอยู่บนฐานที่ตั้งบั้งไฟ
3. ลูกบั้งไฟ
เป็นลำไม้ไผ่ที่นำมาประกอบเลาบั้งไฟโดยมัดรอบลำบั้งไฟ
บั้งไฟลำหนึ่งจะประกอบด้วยลูกบั้งไฟประมาณ 8-15 ลูก ขึ้นอยู่กับขนาดของบั้งไฟ
เดิมลูกบั้งไฟมีแปดลูกมีชื่อเรียกเรียงตามลำดับคู่ขนาดใหญ่ไปหาคู่ที่มีขนาดเล็กกว่าได้แก่
ลูกโอ้ ลูกกลาง ลูกนางและลูกก้อย ลูกบั้งไฟช่วยให้รูปทรงของบั้งไฟกลมเรียวสวยงาม
นอกจากนี้ลูกบั้งไฟยังเป็นพื้นผิวรองรับการเอ้หรือการตกแต่งลวดลายปะติดกระดาษ
กำหนดการงานประเพณีบุญบั้งไฟ อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด
ปี 2556
-วันขึ้น 15
ค่ำเดือน 7 ปีมะเส็ง จ.ศ.1376 ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556
(วันแห่บั้งไฟ) วันจุดบั้งไฟทุก วันแรม 1 ค่ำเดือน 7(วันจันทร์ที่
24 มิถุนายน 2556)
ปี 2557 -ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย จ.ศ.1376 ตรงกับวันพฤหัสบดี วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.2557 (วันแห่บั้งไฟ)
ปี 2558 -ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ปีมะแม จ.ศ.1377 ตรงกับวันจันทร์วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2558 (วันแห่บั้งไฟ)
ปี 2559 -ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ปีวอก จ.ศ.1378 ตรงกับวันอาทิตย์วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ.2559 (วันแห่บั้งไฟ)
ปี 2560 -ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ปีระกา จ.ศ.1379 ตรงกับวันศุกร์วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2560 (วันแห่บั้งไฟ)
ปี 2561 -ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ปีจอ จ.ศ.1380 ตรงกับวันอังคารวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ.2561 (วันแห่บั้งไฟ)
ปี 2562 -ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ปีกุน จ.ศ.1381 ตรงกับวันจันทร์วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ.2562 (วันแห่บั้งไฟ)
ปี 2557 -ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย จ.ศ.1376 ตรงกับวันพฤหัสบดี วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.2557 (วันแห่บั้งไฟ)
ปี 2558 -ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ปีมะแม จ.ศ.1377 ตรงกับวันจันทร์วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2558 (วันแห่บั้งไฟ)
ปี 2559 -ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ปีวอก จ.ศ.1378 ตรงกับวันอาทิตย์วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ.2559 (วันแห่บั้งไฟ)
ปี 2560 -ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ปีระกา จ.ศ.1379 ตรงกับวันศุกร์วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2560 (วันแห่บั้งไฟ)
ปี 2561 -ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ปีจอ จ.ศ.1380 ตรงกับวันอังคารวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ.2561 (วันแห่บั้งไฟ)
ปี 2562 -ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ปีกุน จ.ศ.1381 ตรงกับวันจันทร์วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ.2562 (วันแห่บั้งไฟ)
อ้างอิง : http://www.dmc.tv/pages/scoop//ประเพณีบุญบั้งไฟ-ประวัติความเป็นมาของบุญบั้งไฟ.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น